เรื่องย่อ
เรื่องราวความรักใน The Flowers of War ดำเนินไปท่ามกลางเหตุการณ์ที่แม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในดินแดนตะวันตก แต่ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างสอนใจในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบที่ประชาชนได้รับในยุคสงคราม แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในนานกิงเมื่อปี 1937 จะยังคงเต็มไปด้วยความขัดแย้งและอารมณ์จากทั้งฝั่งของจีนและญี่ปุ่น มีสิ่งหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันนั่นคือสภาพเมืองที่พังพินาศ พลเมืองหลายแสนคนจากทุกช่วงอายุถูกฆ่าตายและผู้หญิงและเด็กหลายพันคนต้องทุกข์ทรมานจากการโดนข่มขืนและกระทำทารุณ
แต่ใน The Flowers of War จางอี้โหมวได้หันเหความสนใจจากสาเหตุและอคติหลายฝ่ายในสงคราม ไปสู่วีรชนผู้ไร้คนเหลียวแลในเมืองแห่งนี้ กลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลัง ผู้ยังคงใช้ชีวิต มีความรักและช่วยเหลือกันและกันแม้กระทั่งในระหว่างที่พวกเขาถูกทำร้าย
เหตุสังหารหมู่นานกิงเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 1937 ในจุดเริ่มต้นของสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักในชื่อของสงครามจีน-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสงครามเอเชียที่รุนแรงที่สุดในศตวรรษที่ 20 ในตอนนั้น จีนและญี่ปุ่นได้ทำสงครามแย่งชิงพื้นที่มานานหลายปี ก่อนที่ในฤดูร้อนปี 1937 ญี่ปุ่นจะได้เปิดฉากรุกรานเซี่ยงไฮ้อย่างเต็มกำลัง กองทัพญี่ปุ่นได้เจอกับการต่อต้านอย่างหนักในเซี่ยงไฮ้ ทำให้กองกำลังของพวกเขาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทำให้ในตอนที่พวกเขาเคลื่อนพลเดินหน้าไปยังเมืองหลวงในนานกิงช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง บรรยากาศที่เข้าครอบงำเมืองแห่งนี้ก็เต็มไปด้วยลางหายนะ
หกสัปดาห์ที่ตามมากลายเป็นที่รู้จักในชื่อของ “การย่ำยีนานกิง” ตามรายงานการพบเห็นการรุมข่มขืน การสังหารพลเมืองและการฝังศพหมู่ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกหัวระแหง ศัลยแพทย์ชาวอเมริกัน โรเบิร์ต โอ. วิลสัน ผู้ซึ่งทำงานในนานกิงขณะนั้น ได้สรุปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นในจดหมายที่เขาเขียนถึงครอบครัวเขาว่า “การสังหารหมู่ชาวเมืองเป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัว ผมสามารถเขียนต่อไปได้เป็นหน้าๆ ถึงกรณีการข่มขืนและการกระทำทารุณ อย่างที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้น”
แต่แม้กระทั่งการใช้ชีวิตธรรมดาในนานกิงจะเป็นไปไม่ได้ ก็ยังมีวีรชนไร้นามมากมายที่ยืนหยัดเพื่อชาวเมือง ท่ามกลางอุปสรรคที่ถาโถมเข้ามา ขณะที่ชาวเมืองพยายามหนี ชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่งที่ทำงานอยู่ที่นั่นในฐานะมิชชันนารี นักธุรกิจและนักข่าวตัดสินใจอยู่ต่อเพื่อก่อตั้งค่ายผู้อพยพ รวมทั้งได้บันทึกถึงความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น มิชชันนารีชาวอเมริกันคนหนึ่งที่ชื่อจอห์น มากี้ ได้มีส่วนร่วมในการเสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อช่วยเหลือทหารและชาวจีนมากถึง 200,000 คนและเขายังได้แอบลักลอกนำภาพยนตร์ 16 ม.ม. สิบสองม้วนของเหตุสังหารที่เกิดขึ้นไปยังโลกตะวันตก ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเลวร้ายที่เกิดขึ้น มีรายงานว่า ไมเนอร์ เซียร์ เบทส์ ชาวอเมริกันที่ทำงานเป็นอาจารย์ในนานกิง ผู้ช่วยเหลือชาวเมืองที่ยากจนที่สุดจำนวนมากให้หนีไปยังที่ปลอดภัย ได้กระชากทหารออกจากร่างของหญิงสาวที่กำลังจะถูกข่มขืนด้วยตัวเอง และมินนี โวทริน มิชชันนารีชาวอเมริกันอีกคนหนึ่ง ก็ได้เสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องนักเรียนหญิงหลายพันคนที่ตกอยู่ท่ามกลางอันตรายร้ายแรง
เรื่องราวความรักใน The Flowers of War ดำเนินไปท่ามกลางเหตุการณ์ที่แม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในดินแดนตะวันตก แต่ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างสอนใจในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบที่ประชาชนได้รับในยุคสงคราม แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในนานกิงเมื่อปี 1937 จะยังคงเต็มไปด้วยความขัดแย้งและอารมณ์จากทั้งฝั่งของจีนและญี่ปุ่น มีสิ่งหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันนั่นคือสภาพเมืองที่พังพินาศ พลเมืองหลายแสนคนจากทุกช่วงอายุถูกฆ่าตายและผู้หญิงและเด็กหลายพันคนต้องทุกข์ทรมานจากการโดนข่มขืนและกระทำทารุณ
แต่ใน The Flowers of War จางอี้โหมวได้หันเหความสนใจจากสาเหตุและอคติหลายฝ่ายในสงคราม ไปสู่วีรชนผู้ไร้คนเหลียวแลในเมืองแห่งนี้ กลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลัง ผู้ยังคงใช้ชีวิต มีความรักและช่วยเหลือกันและกันแม้กระทั่งในระหว่างที่พวกเขาถูกทำร้าย
เหตุสังหารหมู่นานกิงเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 1937 ในจุดเริ่มต้นของสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักในชื่อของสงครามจีน-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสงครามเอเชียที่รุนแรงที่สุดในศตวรรษที่ 20 ในตอนนั้น จีนและญี่ปุ่นได้ทำสงครามแย่งชิงพื้นที่มานานหลายปี ก่อนที่ในฤดูร้อนปี 1937 ญี่ปุ่นจะได้เปิดฉากรุกรานเซี่ยงไฮ้อย่างเต็มกำลัง กองทัพญี่ปุ่นได้เจอกับการต่อต้านอย่างหนักในเซี่ยงไฮ้ ทำให้กองกำลังของพวกเขาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทำให้ในตอนที่พวกเขาเคลื่อนพลเดินหน้าไปยังเมืองหลวงในนานกิงช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง บรรยากาศที่เข้าครอบงำเมืองแห่งนี้ก็เต็มไปด้วยลางหายนะ
หกสัปดาห์ที่ตามมากลายเป็นที่รู้จักในชื่อของ “การย่ำยีนานกิง” ตามรายงานการพบเห็นการรุมข่มขืน การสังหารพลเมืองและการฝังศพหมู่ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกหัวระแหง ศัลยแพทย์ชาวอเมริกัน โรเบิร์ต โอ. วิลสัน ผู้ซึ่งทำงานในนานกิงขณะนั้น ได้สรุปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นในจดหมายที่เขาเขียนถึงครอบครัวเขาว่า “การสังหารหมู่ชาวเมืองเป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัว ผมสามารถเขียนต่อไปได้เป็นหน้าๆ ถึงกรณีการข่มขืนและการกระทำทารุณ อย่างที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้น”
แต่แม้กระทั่งการใช้ชีวิตธรรมดาในนานกิงจะเป็นไปไม่ได้ ก็ยังมีวีรชนไร้นามมากมายที่ยืนหยัดเพื่อชาวเมือง ท่ามกลางอุปสรรคที่ถาโถมเข้ามา ขณะที่ชาวเมืองพยายามหนี ชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่งที่ทำงานอยู่ที่นั่นในฐานะมิชชันนารี นักธุรกิจและนักข่าวตัดสินใจอยู่ต่อเพื่อก่อตั้งค่ายผู้อพยพ รวมทั้งได้บันทึกถึงความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น มิชชันนารีชาวอเมริกันคนหนึ่งที่ชื่อจอห์น มากี้ ได้มีส่วนร่วมในการเสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อช่วยเหลือทหารและชาวจีนมากถึง 200,000 คนและเขายังได้แอบลักลอกนำภาพยนตร์ 16 ม.ม. สิบสองม้วนของเหตุสังหารที่เกิดขึ้นไปยังโลกตะวันตก ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเลวร้ายที่เกิดขึ้น มีรายงานว่า ไมเนอร์ เซียร์ เบทส์ ชาวอเมริกันที่ทำงานเป็นอาจารย์ในนานกิง ผู้ช่วยเหลือชาวเมืองที่ยากจนที่สุดจำนวนมากให้หนีไปยังที่ปลอดภัย ได้กระชากทหารออกจากร่างของหญิงสาวที่กำลังจะถูกข่มขืนด้วยตัวเอง และมินนี โวทริน มิชชันนารีชาวอเมริกันอีกคนหนึ่ง ก็ได้เสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องนักเรียนหญิงหลายพันคนที่ตกอยู่ท่ามกลางอันตรายร้ายแรง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น